แชร์

หากคิดจะเติบโตและประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันนี้ไม่ต้องกลัวที่จะล้มเหลว

อัพเดทล่าสุด: 28 มิ.ย. 2024
117 ผู้เข้าชม

หากคิดจะเติบโตและประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันนี้ไม่ต้องกลัวที่จะล้มเหลว

คนที่ล้มเหลวแล้วเรียนรู้ จะทำให้การล้มเหลวที่เกิดขึ้น เป็นการล้มไปข้างหน้า
คนรุ่นก่อน มักจะมีค่านิยมว่า ความล้มเหลวเป็นเรื่องที่น่าอาย รับไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว คนเราทุกคนผ่านการทำพลาด และความล้มเหลวมาแล้วด้วยกันทั้งสิ้นไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ความล้มเหลว ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ได้ เพื่อที่ครั้งต่อไป จะได้ปรับปรุงสิ่งที่เคยพลาดให้ดีขึ้น

Amy Edmonson ได้อธิบายไว้ในหนังสือ The Right Kind of Wrong. The Science of Failing Well ซึ่งหนังสือได้รับรางวัลจาก The Financial Times ในปี 2023 โดยเธอแบ่งความล้มเหลวไว้ 3 ประเภท ได้แก่

1. #ความล้มเหลวในสิ่งที่รู้อยู่แล้ว (Basic Failure) เป็นความผิดพลาดที่เกิดกับเรื่องง่ายๆ ที่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร แต่บุคคลนั้นทำผิดพลาดขึ้นมา ซึ่งเรื่องที่ทำพลาดนั้น อาจเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่มีสาระสำคัญ เช่น เผลอหยิบขวดเกลือมาปรุงอาหารแทนที่จะหยิบขวดน้ำตาล ทำให้ต้องปรุงรสกันใหม่ หรือทำพลาดในเรื่องสำคัญ จนกลายเป็นประเด็นปัญหา เช่น กดเลขบัญชีผิดแล้วไม่ได้ตรวจสอบชื่อ ทำให้โอนเงินผิด จนต้องแจ้งความ หรือกลายเป็นคดีความฟ้องร้องกันได้ ลักษณะของความล้มเหลวประเภทนี้ เป็นเพราะประมาทเลินเล่อ ไม่ใส่ใจมากพอ คิดว่าตนเองรู้ดีแล้ว มั่นใจเกินไป จึงเกิดความผิดพลาด หากมีความรอบคอบ เอาใจใส่มากขึ้น ความล้มเหลวจะไม่เกิดขึ้น

2. #ความล้มเหลวที่ซับซ้อน (Complex Failure) เป็นความล้มเหลวที่เกิดจากปัจจัยหลายปัจจัยเข้ามาในเวลาเดียวกัน เปรียบดังโดนพายุยักษ์ถล่มใส่ ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ไม่สามารถรับมือได้อย่างรอบด้าน เช่น ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 บริษัทหลายบริษัท ต้องเผชิญกับปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาในเวลาเดียวกัน ทั้งเรื่องการเจ็บป่วยของพนักงาน ลูกค้าขอยกเลิกคำสั่งซื้อขาย ภาวะค่าเงินผันผวน ไม่นิ่ง การส่งออกหยุดชะงัก ค่าขนส่งแพงขึ้น จะเห็นได้ว่า มีหลายปัจจัยที่เข้ามารุมเร้า ทำให้เสถียรภาพของบริษัทไม่มั่นคง และไม่รู้ทิศทางว่าจะเดินต่อไปทางใด การตัดสินใจในเรื่องหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่ออีกเรื่อง เกิดความผิดพลาดจากการตัดสินใจ หรือการแก้ไขปัญหาทำได้ไม่ดีอย่างที่วางแผนหรือตั้งใจไว้ เป็นต้น

3. #ความล้มเหลวที่สร้างให้เกิดความรู้ใหม่ (Intelligent Failure) ความล้มเหลวประเภทนี้ จะเกิดขึ้นกับเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ยังไม่รู้ทิศทาง ไม่มีทักษะ และเรื่องที่ต้องเผชิญ มีความไม่แน่นอนสูง จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลวได้สูง แม้ว่าจะเกิดความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ความล้มเหลวประเภทนี้ จะสร้างให้เกิดการเรียนรู้ ได้องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา เช่น การทดลองสร้างวัคซีนในโรคใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กว่าจะทดลองได้สำเร็จ ต้องผ่านความล้มเหลวมาอย่างมากมาย ยิ่งล้มเหลวมากเท่าใด ยิ่ง เรียนรู้ มากเท่านั้น หรือ การสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน กว่าจะคิดค้น ประดิษฐ์ออกมาขาย ออกมาใช้ได้ ต้องล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูก ล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน

จะเห็นได้ว่า การล้มเหลว ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย น่ากลัว แต่อย่างใด สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อล้มเหลวเราทำอย่างไรต่อกับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งคำถามกับตนเองทุกครั้งเมื่อล้มเหลวว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น? การล้มเหลวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นๆ จะทำให้เราเรียนรู้ที่จะพาตนเองให้ล้มไปข้างหน้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและความสำเร็จ

Author


ผศ.ดร.จิตรา ดุษฏีเมธา
อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักจิตวิทยา
Senior Action Learning Coach
TPS Master Facilitator

#theartofchange
#WeTreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE
#teampsychologicalsafety
#highperformingteams

#AmyEdmonson

#TheRightKindofWrong 


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy