แชร์

กิจกรรมเพิ่ม Team Dynamic

อัพเดทล่าสุด: 7 ส.ค. 2024
188 ผู้เข้าชม

พลวัตของทีม (Team Dynamic) หมายถึงการที่ทีมได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาภายในทีม (Team Psychological Safety - TPS)
วันนี้จะขอแบ่งปัน 3 กิจกรรมที่ผู้นำทีมสามารถชวนทีมทำกันได้ง่ายๆ ในที่ทำงานเพื่อให้ทีมมีพลวัตมากขึ้น



1. กิจกรรมบัดดี้ลับ
- ให้หาบัดดี้ด้วยการจับฉลากโดยห้ามเปิดเผยว่าเราเป็นบัดดี้ลับของใคร
- บัดดี้ลับมีหน้าที่ต้องคอยช่วยเหลือบัดดี้ของตนในเรื่องต่างๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายรู้ว่าเราคือบัดดี้ลับของเขา โดยกำหนดระยะเวลากิจกรรม เช่น 2 สัปดาห์/รอบ
- เมื่อครบกำหนด 2 สัปดาห์ ให้แต่ละคนเล่าถึงสิ่งที่ได้รับการดูแลในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
- ให้กลุ่มช่วยกันโหวตบัดดี้ลับดีเด่นจากเรื่องที่ผู้ถูกดูแลเล่า
- ให้แต่ละคนเดาตัวบัดดี้ลับ และเฉลยตัวบัดดี้ลับ
- มอบรางวัลให้บัดดี้ลับดีเด่น และจับฉลากเลือกบัดดี้ในช่วงต่อไป
- กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมองค์ประกอบของ TPS ในด้าน #การสนับสนุนกันและกัน (Mutual Support)


2. กิจกรรมฉันคือผู้เชี่ยวชาญ
- ให้ทุกๆ สัปดาห์ ให้มีการประชุมแบบไม่เป็นทางการของทีม โดยให้แต่ละคนมานำเสนอสิ่งที่ตัวเองชอบ/สนใจ/ถนัดคนละ 1 อย่าง
- เรื่องที่มาเล่าจะเป็นในเรื่องอะไรและในแง่มุมใดก็ได้ เช่น อาหาร ที่เที่ยว งานอดิเรก ประวัติศาสตร์ แฟชั่น เทคโนโลยีฯลฯ แต่ให้ใช้เวลาคนละไม่เกิน 5 นาที จะมีของมาประกอบการเล่าหรือไม่มีก็แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์
- เปิดโอกาสให้สมาชิกคนอื่นๆ สามารถขอความช่วยเหลือในเรื่องนั้นๆ จากผู้เล่าได้
- หากสมาชิกมีมาก อาจไม่จำเป็นต้องเล่าทุกคนในครั้งเดียวแต่ให้ผลัดเวียนกันไปตามความเหมาะสม
- กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมองค์ประกอบของ TPS ในด้าน #การเปิดรับความแตกต่างหลากหลาย (Embracing Diversity) และ #การร้องขอความช่วยเหลือ (Asking for Help)


3. กิจกรรมกล่องยิ้ม
- ให้วางกล่องยิ้มที่แปะชื่อสมาชิกแต่ละคนไว้รวมกันในจุดที่ทุกคนมองเห็น (แนะนำให้เป็นกล่องใส)
- ทุกวันตอนเย็น ให้สมาชิกในทีมแต่ละคนเขียนคำชื่นชมหรือคำขอบคุณให้กับเพื่อนคนอื่นในทีมลงกระดาษ โดยระบุถึงสิ่งที่เจ้าตัวทำอย่างเจาะจงชัดเจนและว่าสิ่งนั้นได้ช่วยเหลือเราหรือมีประโยชน์อย่างไร) ลงวันที่ แล้วพับเอากระดาษไปใส่กล่องที่เป็นชื่อเพื่อนคนนั้น จะใส่ชื่อคนเขียนหรือไม่ใส่ก็ได้
- เมื่อครบสัปดาห์ ให้มาเปิดอ่านข้อความด้วยกัน
- ให้เจ้าของกล่องพูดถึงคำชื่นชมหรือคำขอบคุณที่เจ้าตัวประทับใจมากที่สุด
- กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมองค์ประกอบของ TPS ในด้าน #การชื่นชม (Appreciation)
ลองเอาไปเล่นกันดูค่ะ และหากได้ผลกับทีมอย่างไรแล้วมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
- ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันค่ะ


Author
โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
Professional Action Learning Coach

Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์


#teampsychologicalsafety
#highperformingteam
#theartofchange
#wetreasuresustainablegrowththroughpeople


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy