แชร์

การสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีมผ่านการใช้คำถาม

อัพเดทล่าสุด: 7 ส.ค. 2024
257 ผู้เข้าชม

การสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีมผ่านการใช้คำถาม


การใช้คำถามเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยา เนื่องจากการรู้จักใช้คำถามที่เหมาะสมจะช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขามีค่า ได้รับการยอมรับ และยังสามารถกระตุ้นความคิดของผู้ถูกถามให้เปิดกว้าง เรียนรู้เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดเดิม ๆ นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้ผู้ถามเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในทีมมากขึ้นด้วย


การใช้คำถามในการสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยา ทำได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ 5 ข้อต่อไปนี้


1. ถามและฟังอย่างตั้งใจ
ผู้นำทีมต้องฟังสมาชิกในทีมอย่างตั้งใจ การฟังอย่างตั้งใจแสดงถึงการให้ความสำคัญกับความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้เล่าเมื่อผู้เล่ารู้สึกว่าผู้นำรับฟังและใส่ใจในสิ่งที่พวกเขาพูด พวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นในการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ตัวอย่างคำถาม: "คุณคิดว่ากระบวนการทำงานของเราตอนนี้เป็นอย่างไร?" หรือ "ความคืบหน้าในงานของคุณเป็นอย่างไรบ้าง?"


2. เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
การใช้คำถามปลายเปิดส่งเสริมให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางใหม่ ๆ คำถามที่ดีจะไม่ตัดสินหรือวิจารณ์ แต่จะเปิดโอกาสให้สมาชิกทีมได้แสดงความคิดและมุมมองของตน
ตัวอย่างคำถาม: "มีขั้นตอนไหนที่อาจเป็นอุปสรรคในการทำงานของทีม?" หรือ "คุณมีไอเดียอะไรที่ยังไม่เคยทำและอยากลองแบ่งปันกับทีมของเราบ้าง?"


3. สร้างการมีส่วนร่วม
คำถามช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา การที่สมาชิกทีมมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีบทบาทสำคัญ
ตัวอย่างคำถาม: "พวกเราคิดว่าหากมีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานตรงนี้ จะส่งผลต่องานของเราอย่างไร?" หรือ "จากข้อเสนอนี้ มีมุมมองอะไรที่พวกเราอาจมองข้ามไปบ้าง?"


4. สนับสนุนและให้กำลังใจ
ผู้นำทีมสามารถสนับสนุนและให้กำลังใจสมาชิกในทีมได้ คำถามที่ดีสามารถกระตุ้นให้สมาชิกทีมคิดในเชิงบวกและมองหาทางออกที่สร้างสรรค์
ตัวอย่างคำถาม: "คุณคิดว่าเรามีจุดแข็งอะไรที่สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหานี้?" หรือ "เราจะใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมามาช่วยในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร?" หรือ หากทำได้สำเร็จ พวกเราจะกลับมาพูดกับตัวเองในวันนี้อย่างไร?


5. ชักชวนหรือกระตุ้นให้เรียนรู้จากความผิดพลาด
การใช้คำถามสามารถสร้างบรรยากาศของการยอมรับความผิดพลาดและเปลี่ยนให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ การที่สมาชิกในทีมรู้สึกว่าพวกเขาสามารถพูดถึงความผิดพลาดและเรียนรู้จากมันได้จะช่วยลดความกลัวในการทำผิดพลาดและส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้
ตัวอย่างคำถาม: "เราได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดนี้?" หรือ "ครั้งต่อไปเราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น?"


การใช้คำถามจึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม คำถามช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกปลอดภัย มั่นใจในการแสดงความคิดเห็น และกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ เมื่อใจของสมาชิกในทีมรู้สึกปลอดภัย การทำงานร่วมกันจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ทีมสามารถบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ




Author
โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
Professional Action Learning Coach


Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์


#theartofchange
#teampsychologicalsafety
#highperformingteams
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy