แชร์

จัดการความเสี่ยงได้ดีต้องมี Team Psychological Safety

อัพเดทล่าสุด: 20 ส.ค. 2024
67 ผู้เข้าชม

การขาด Team Psychological Safety หรือความปลอดภัยทางจิตวิทยาภายในทีมสามารถส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ดังนี้
.

การปกปิดปัญหาและประเด็นความเสี่ยง
หากขาดความปลอดภัยทางจิตวิทยา สมาชิกในทีมอาจกลัวหรือลังเลใจที่จะพูดถึงปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เคยเกิดหรืออาจเกิดขึ้นในงานที่รับผิดชอบ เนื่องจากกลัวการถูกตำหนิหรือถูกวิจารณ์ ทำให้ปัญหาและความเสี่ยงที่ควรถูกจัดการ กลับถูกปกปิดไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต
.

การขาดการสื่อสารที่เปิดเผย
การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการสื่อสารที่เปิดเผยและทันเวลา เมื่อขาดความปลอดภัยทางจิตวิทยา สมาชิกในทีมอาจไม่กล้าพูดถึงความผิดปกติที่สังเกตเห็น ไม่กล้าให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา หรือไม่กล้าเสนอแนวทางแก้ไข ทำให้การประเมินความเสี่ยงและการหาวิธีการจัดการความเสี่ยงไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน
.

การปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ความปลอดภัยทางจิตวิทยาส่งเสริมให้สมาชิกในทีมกล้าทดลองและนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและจัดการความเสี่ยง เมื่อขาดความปลอดภัยทางจิตวิทยา สมาชิกทีมอาจกลัวที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ หรือนำเสนอความคิดที่แปลกหรือที่ท้าทายรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งทำให้พลาดโอกาสในการหาวิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
.

การสร้างบรรยากาศที่ตึงเครียด
เมื่อขาดความปลอดภัยทางจิตวิทยาจะทำให้สมาชิกทีมรู้สึกตึงเครียดและไม่มั่นคง ส่งผลให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น การแก้ไขปัญหาและจัดการความเสี่ยงจึงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสมาชิกทีมไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่
.

ความไว้วางใจที่ลดลง
ความไว้วางใจระหว่างสมาชิกทีมเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารความเสี่ยง เมื่อไม่มีความปลอดภัยทางจิตวิทยา ความไว้วางใจระหว่างสมาชิกทีมจะลดลง ส่งผลให้การทำงานร่วมกันในการระบุและจัดการความเสี่ยงเป็นไปอย่างยากลำบาก

ตัวอย่างที่ชัดเจนของกรณีศึกษาที่ผิดพลาดในการจัดการความเสี่ยงเนื่องจากการขาด Psychological Safety คือกรณีของ การเกิดเหตุการณ์ระเบิดและน้ำมันรั่วไหลจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน Deepwater Horizon ของ BP ในปี 2010 ซึ่งเป็นผลมาจากหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือการขาดการสื่อสารที่เปิดเผยและการปกปิดปัญหาด้านความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานบางคนไม่กล้ารายงานสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เห็นได้ชัดเจนเนื่องจากกลัวการถูกลงโทษว่าทำให้โครงการล่าช้า ทำให้ความเสี่ยงที่ควรถูกจัดการตั้งแต่เนิ่น ๆ กลับถูกละเลยจนส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นหายนะ สร้างความสูญเสียมหาศาลทั้งกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ ชีวิตของคนและสัตว์ และทำให้ BP ต้องจ่ายค่าเสียหายสูงสุดถึง 20,800 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

การสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาหรือ Psychological Safety ในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอย่างไม่สามารถละเลยได้ในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการจัดการความเสี่ยงเลยทีเดียว

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ

Author
โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach

Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์

#theartofchange
#teampsychologicalsafety
#highperformingteams
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy