8 เช็คลิส เราสามารถฟังอย่างเข้าอกเข้าใจได้ดีแค่ไหน
อัพเดทล่าสุด: 22 ก.ค. 2024
94 ผู้เข้าชม
ถ้าตั้งคำถามว่าการฟังที่ดี ต้องทำอย่างไร? เชื่อว่าผู้คนส่วนมากจะสามารถตอบได้ทันที
ในทางกลับกัน ถ้าถามว่าสิ่งที่อยากได้เพิ่มขึ้นจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่มักจะได้ยินเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็คือ อยากได้รับการรับฟังมากขึ้น
การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening) เป็นเทคนิคการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจและมีความไวต่อความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ของผู้พูด ซึ่งมากกว่าการได้ยินคำพูดอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นที่การเข้าใจความหมายทั้งหมดที่อยู่เบื้องหลังการพูด
อยากรู้ว่าเราสามารถฟังอย่างเข้าอกเข้าใจได้ดีแค่ไหน ลองทดสอบได้จาก 8 เช็คลิสต์ต่อไปนี้
การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ส่งผลต่อความปลอดภัยทางจิตวิทยาของทีม โดยช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สมาชิกทีมรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการเคารพ และรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกโดยไม่ต้องกลัวผลกระทบด้านลบ
หากคุณสามารถเช็คถูกในทุกข้อตามเช็คลิสต์นี้ นั่นหมายความว่าคุณกำลังเป็นผู้ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ แต่ถ้ายังมีข้อไหนที่คิดว่ายังทำได้เพิ่มขึ้นอีก ลองฝึกเพิ่มเติมกันนะคะ
Author
ในทางกลับกัน ถ้าถามว่าสิ่งที่อยากได้เพิ่มขึ้นจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่มักจะได้ยินเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็คือ อยากได้รับการรับฟังมากขึ้น
การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening) เป็นเทคนิคการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจและมีความไวต่อความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ของผู้พูด ซึ่งมากกว่าการได้ยินคำพูดอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นที่การเข้าใจความหมายทั้งหมดที่อยู่เบื้องหลังการพูด
อยากรู้ว่าเราสามารถฟังอย่างเข้าอกเข้าใจได้ดีแค่ไหน ลองทดสอบได้จาก 8 เช็คลิสต์ต่อไปนี้
- ฉันให้ความสนใจอย่างเต็มที่ โดยหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ฉันแสดงให้เห็นว่ากำลังฟัง เช่นการพยักหน้า มองตา และการเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย หรือ การใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ร่วมอย่างเหมาะสม
- ฉันสะท้อนและถอดความ โดยสะท้อนจากสิ่งที่ผู้พูดกล่าวเพื่อแสดงว่าฉันเข้าใจโดยไม่ตัดสินความคิดหรือความรู้สึกของผู้พูด
- ฉันไม่ขัดจังหวะ ฉันปล่อยให้ผู้พูดพูดจนจบก่อนที่ฉันจะตอบ
- ฉันถามคำถามที่เปิดกว้าง เพื่อกระตุ้นให้ผู้พูดขยายความคิดและความรู้สึกของตนเองเช่น "คุณช่วยเล่าเพิ่มเติมได้ไหม?" หรือ "คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้?"
- ฉันยอมรับความรู้สึกของผู้พูด ฉันแสดงความเข้าใจในความรู้สึกของผู้พูดโดยไม่ตัดสินเช่น ฟังดูเหมือนคุณกำลังรู้สึกหนักใจ หรือ "ฉันเข้าใจว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนั้น"
- ฉันตรวจสอบความเข้าใจ โดยการถามคำถามยืนยัน เช่น "คุณหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม?"
- ฉันเปิดโอกาสให้ผู้พูดได้ชี้แจงเพิ่มเติมหากจำเป็น
การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ส่งผลต่อความปลอดภัยทางจิตวิทยาของทีม โดยช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สมาชิกทีมรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการเคารพ และรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกโดยไม่ต้องกลัวผลกระทบด้านลบ
หากคุณสามารถเช็คถูกในทุกข้อตามเช็คลิสต์นี้ นั่นหมายความว่าคุณกำลังเป็นผู้ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ แต่ถ้ายังมีข้อไหนที่คิดว่ายังทำได้เพิ่มขึ้นอีก ลองฝึกเพิ่มเติมกันนะคะ
Author
ยุ่ง ศริยา ประวงษ์
People & Culture Transformation Consultant
Action Learning Coach
Team Psychological Safety Facilitator
#teampsychologicalsafety
#highperformingteam
#theartofchange
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE
บทความที่เกี่ยวข้อง
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025