แชร์

หัวหน้าใหม่ในทีมที่แข็งแกร่ง

อัพเดทล่าสุด: 6 ม.ค. 2025
49 ผู้เข้าชม

เคยคิดไหมว่า.. หัวหน้าก็อาจรู้สึกกดดันไม่ต่างจากลูกทีม
โดยเฉพาะเมื่อเป็นหัวหน้าคนใหม่ในทีมที่เก่งและแข็งแกร่งอยู่แล้ว

ในการทำงานเป็นทีม
ผู้นำทีมมักถูกคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้นำที่มั่นคง
กล้าตัดสินใจ และดูแลสมาชิกในทีมได้ดี
แต่ในความเป็นจริง "หัวหน้า" ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
ที่อาจมีความรู้สึกหวั่นไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหัวหน้าเป็นคนใหม่ที่เข้ามารับหน้าที่ในทีมที่มีประสิทธิภาพกันอยู่แล้ว

การสร้าง Team Psychological Safety หรือความรู้สึกปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม
จึงไม่ใช่เรื่องของผู้นำทีมที่ต้องสร้างให้กับสมาชิกในทีมเท่านั้น
แต่เป็นสิ่งที่สมาชิกในทีมต้องช่วยกันสร้างหรือส่งกลับให้กับหัวหน้าทีมเช่นกัน
เพราะความรู้สึกปลอดภัยอย่างทั่วถึงในทีมนี้
จะช่วยให้หัวหน้าที่มาใหม่เป็นผู้นำที่ดีกล้าหาญ
แข็งแรง และมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

วิธีง่ายๆ ที่ทีมสามารถเริ่มต้นช่วยหัวหน้าได้

1. ให้กำลังใจและแสดงการสนับสนุน
รับฟังและใส่ใจกับคำพูดที่ส่งให้หัวหน้าใหม่
เช่น เราเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของคุณนะคะ
หรือ ยินดีครับ เราจะลองทำไปด้วยกัน
คำพูดเล็ก ๆ เหล่านี้ช่วยเติมพลังใจให้ผู้มาใหม่ได้มหาศาล

2. กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
ทีมที่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะ
แบบตรงไปตรงมาอย่างมีศิลปะ โดยไม่ต้าน แย้ง หรือปฏิเสธอย่างทันท่วงที
เป็นการสื่อไปยังหัวหน้าว่า "แม้เราจะยังมีข้อสงสัย แต่เราไว้ใจคุณและพร้อมช่วยผลักดันทีมไปด้วยกัน"
การแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยกันปิดจุดอ่อนของไอเดีย
หรือแนวทางที่หัวหน้าเสนอในบรรยากาศที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ดีสำหรับทุกคน ทำให้หัวหน้าใหม่รับรู้ได้ถึงความตั้งใจช่วยเหลือและสนับสนุนของทีม

3. เปิดใจรับหัวหน้าใหม่อย่างเป็นธรรมชาติ
ให้โอกาส ให้เวลาหัวหน้าใหม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของทีม
โดยไม่คาดหวังให้ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบตั้งแต่วันแรก
การเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน ทำให้หัวหน้ารู้สึกว่าเขาไม่ต้องวางท่าให้เป็นคนที่ เก่ง ทุกเรื่องเสมอไป
ทุกคนในทีมยอมรับและพร้อมช่วยเหลือ
พร้อมเป็นแรงหนุนให้กับผู้นำคนใหม่เสมอ
คำพูดเช่น มีอะไรที่เราจะช่วยได้บ้างคะ/ครับ?
จะทำให้หัวหน้ารู้สึกอบอุ่นและมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

หัวหน้าอาจถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนทีม
แต่ทีมก็เป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้หัวหน้าผู้มาใหม่มั่นคงและเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันไม่ว่าจะเป็นใครในทีม
เป็นของขวัญที่ทีมสามารถมอบให้กันได้ในทุกโอกาส
และเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ทีมจะมีร่วมกันต่อไป

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team ไปด้วยกันนะคะ

  Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์

Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach

 Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy