แชร์

ให้อภัยเพื่อก้าวไปข้างหน้า: ของขวัญปีใหม่สำหรับทีมและตัวคุณเอง

อัพเดทล่าสุด: 6 ม.ค. 2025
43 ผู้เข้าชม

ช่วงปลายปีเป็นเวลาที่หลายคนใช้เป็นโอกาสในการทบทวนชีวิตตัวเองทั้งเรื่องที่ภูมิใจและเรื่องที่ค้างคา โดยเฉพาะในที่ทำงาน..ที่เราอาจเจอทั้งความผิดหวังความขัดแย้งหรือคำพูดบางคำที่ยังฝังใจแต่รู้ไหมว่า #การให้อภัย เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่สามารถช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Psychological Safety) และทำให้ทีมก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นในปีหน้า

การให้อภัยเริ่มจากตัวเรา :)
ก่อนอื่น ลองถามตัวเองว่าในการทำงานกับทีมมีเรื่องไหนที่ยังติดค้างในใจอยู่บ้าง?
หลายครั้งที่ความขุ่นข้องใจทำให้เราหวาดระแวงหรือลังเลที่จะเปิดใจทำงานร่วมกับคู่กรณีในทีม

อยากเชิญชวนลองกลับมาพิจารณาในมุมที่ว่า
เรื่องทุกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ตัวเราเองก็ย่อมมีส่วนไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะได้ทำหรือไม่ได้ทำอะไรก็ล้วนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกบาดหมาง เช่น การที่เรานิ่งเงียบเมื่อเป็นฝ่ายถูกกระทำ ทำให้อีกฝ่ายทำผิดต่อเราซ้ำ ๆ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าการนิ่งเฉยก็เปรียบเหมือนการอนุญาตให้เขาทำสิ่งนั้น โดยที่เขาเองก็อาจไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าเราไม่ชอบหรือสิ่งนั้นทำให้เราขุ่นเคือง

จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ การเงียบของเราก็เป็นส่วนที่ทำให้ตัวเราเกิดความรู้สึกขุ่นใจ แต่เรามักมองไม่เห็นว่าการกระทำของเรามีส่วน เพราะเรามัวเพ่งโทษไปที่ผู้กระทำต่อเราเท่านั้น หรือในบางกรณี..การกระทำของเราก็มีส่วนทำให้เหตุการณ์นั้นหนักมากขึ้น เข้าตำรา ขิงก็ราข่าก็แรง ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน โดยไม่เคยจับเข่าคุยหรือเปิดอกกันอย่างตรงไปตรงมา ทำให้เกิดความกินใจหรือบาดหมาง เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ได้มุ่งที่จะแก้สาเหตุของปัญหา แต่กลับกระทำสิ่งเพื่อโต้ตอบมุ่งเอาชนะกันมากกว่า

เมื่อเห็นความจริงเช่นนี้แล้ว 
เราก็ควรน้อมรับความบกพร่องของตนเองก่อนและตั้งใจที่จะไม่มีส่วนทำให้เกิดความบาดหมางขึ้นอีก อันนี้คือการให้อภัยตัวเองในเบื้องต้น
จากนั้นก็น้อมใจให้เห็นว่าที่อีกฝ่ายทำเขาก็ทำเพราะความบกพร่องในตัวของเขาเช่นกัน และเขาก็อาจไม่รู้ตัวว่าเขามีความบกพร่องแต่ทำไปโดยคิดว่าได้ทำดีที่สุดแล้วในสถานการณ์นั้น และด้วยสติปัญหาทั้งหมดเท่าที่เขามี เราจึงควรให้อภัยเขาด้วย

หากมีโอกาส ควรได้มีการพูดจาขออภัยกัน ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้คิดได้ก่อน เราจึงเหมาะที่จะเป็นผู้เริ่มการขออภัย ส่วนที่ว่าเขาจะให้อภัยเราหรือไม่หรือจะคิดเห็นอย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา เราจึงไม่จำเป็นต้องไปคาดหวังหรือคาดคั้นให้เกิดสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเคลียร์ใจของเราให้เป็นพื้นที่ว่าง พื้นที่ที่สะอาด เพื่อรับพลังงานดี ๆ สำหรับการทำงานในปีใหม่ :)

การให้อภัยสร้างพื้นที่ปลอดภัยในทีมได้อย่างไร?
การให้อภัยลดความกลัวในการทำผิดพลาด ในทีมที่ทุกคนให้อภัยกันเมื่อเกิดข้อผิดพลาด สมาชิกจะกล้าที่จะเรียนรู้ ทดลองสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่กลัวการถูกตำหนิหรือตัดสิน

  • การให้อภัยเสริมสร้างความไว้วางใจ
  • การให้อภัยเป็นการแสดงออกว่าเราเคารพความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และทุกคนมีโอกาสที่จะทำดีขึ้นเสมอ
  • การให้อภัยทำให้ทีมใกล้ชิดกันมากขึ้น
จากความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในปีที่ผ่านมา ลองยื่น สะพานแห่งการให้อภัย ด้วยคำพูดง่าย ๆ เช่น ไม่เป็นไรนะ หรือ เรื่องนี้เราเรียนรู้ไปด้วยกัน สิ่งนี้จะทำให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น


ปีใหม่นี้ให้ของขวัญที่มีค่าที่สุด
หัวหน้าและสมาชิกของทีมที่ชาญฉลาด ทุกคนล้วนยอมรับว่า การให้อภัยไม่ใช่การลืม แต่เป็นการปลดล็อกตัวเองและทีมออกจากความรู้สึกด้านลบ เพื่อสร้างพื้นที่ทำงานที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัย เป็นตัวเองได้เต็มที่ และพร้อมก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกันในอนาคต

ลองมอบ #การให้อภัย เป็นของขวัญปีใหม่ 
แล้วคุณจะพบว่าใจที่เบาและทีมที่อบอุ่น พร้อมจะพาคุณสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในปีต่อไป

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการปั้น High-performing Team และ Happy Life ไปด้วยกันนะคะ


 Author

โค้ชติ๊ก นิธิพร ไตรทิพเทวินทร์
Certified Master Facilitator Team Psychological Safety
WIAL Professional Action Learning Coach


  Artwork: Jutha.J


บทความที่เกี่ยวข้อง
4 วิธีดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
ดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ให้ความต่างสร้างการเติบโต
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy