เมื่อไหร่ที่ควรถามคำถาม เมื่อไหร่ที่ควรให้คำแนะนำ
อัพเดทล่าสุด: 26 ส.ค. 2024
73 ผู้เข้าชม
การถามคำถาม เป็นทักษะที่สำคัญในการสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตวิทยาในทีม แต่การที่หัวหน้างานเอาแต่ถามคำถามในทุกสถานการณ์อาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ทีมงานรู้สึกไม่ปลอดภัย
แม้ว่าการถามคำถามจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาของทีม แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นไปได้ที่สมาชิกในทีมอาจต้องการคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าคำถามชวนคิด
แต่ในฐานะหัวหน้างาน เราจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควรถามคำถาม และเมื่อไหร่ควรให้คำแนะนำ?
แนวทางการพิจารณาที่หัวหน้างานสามารถนำไปปรับใช้ได้มีดังนี้:
.
เมื่อไหร่ที่ควรถามคำถาม?
1. เมื่อต้องการรับฟังความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ หากต้องการความคิดเห็น หรือ feedback จากทีมเพื่อการพัฒนา หรือต้องการไอเดียใหม่ ๆ การถามคำถามจะช่วยเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมได้แสดงออกถึงความคิดและมุมมองของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ นำมาซึ่งไอเดียที่หลากหลาย รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมอีกด้วย
2. เมื่อต้องการการวิเคราะห์หรือสำรวจปัญหา หากทีมกำลังเผชิญกับปัญหาหรือความท้าทาย การถามคำถามจะช่วยกระตุ้นให้สมาชิกทีมคิดวิเคราะห์และสำรวจทางออกที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน
3. เมื่อต้องการเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง กรณีที่ทีมประสบความสำเร็จ หรือเกิดความผิดพลาดระหว่างการทำงาน การถามคำถามช่วยให้ทีมได้สะท้อนถึงประสบการณ์และเรียนรู้จากความสำเร็จหรือความผิดพลาดนั้น ๆ สร้างความรู้สึกปลอดภัย และส่งเสริมการเรียนรู้อยู่เสมอ
4. เมื่อคุณต้องการให้ทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การถามคำถามในกระบวนการตัดสินใจช่วยให้สมาชิกทีมรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมและความคิดเห็นของพวกเขามีค่า และเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน
.
เมื่อไหร่ที่ควรให้คำแนะนำ?
1. เมื่อทีมต้องการทิศทางที่ชัดเจน ในสถานการณ์ที่เกินอำนาจการตัดสินใจของทีม และต้องการการชี้นำอย่างชัดเจน เช่น การเริ่มโครงการใหม่หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การให้คำแนะนำจะช่วยให้ทีมมีทิศทางที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นใจ และรู้สึกถึงการได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานอย่างเต็มที่
2. เมื่อสมาชิกทีมยังขาดประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญ หากสมาชิกทีมยังขาดประสบการณ์หรือไม่มั่นใจในการตัดสินใจ ในขอบข่ายที่อาจเป็นเรื่องใหม่ หรือซับซ้อน การให้คำแนะนำจะช่วยเสริมความมั่นใจและสนับสนุนให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น
3. เมื่อทีมประสบปัญหาหรือทางตัน ในสถานการณ์ที่ทีมประสบปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ หัวหน้างานควรให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์ ชัดเจน เฉพาะเจาะจง เช่นวิธีการที่ประสบความสำเร็จมาก่อน หรือแนวทางการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมแรงใจและเป็นแนวทางในการดำเนินการหรือพัฒนาต่อได้
.
จะเห็นได้ว่าการถามคำถาม จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกทีมได้คิด เรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ ในขณะที่การให้คำแนะนำจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน รวมถึงป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบหรือสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ หัวหน้างานจึงควรรับฟังและประเมินสถานการณ์ และศักยภาพของทีมอย่างรอบคอบ เพื่อเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เพื่อสามารถบริหารจัดการงาน และสร้างการเติบโตของทีมได้อย่างสมดุล
Author
ยุ่ง ศริยา ประวงษ์
People & Culture Transformation Consultant
Action Learning Coach
Team Psychological Safety Facilitator
Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์
#teampsychologicalsafety
#highperformingteam
#theartofchange
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE
แม้ว่าการถามคำถามจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาของทีม แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นไปได้ที่สมาชิกในทีมอาจต้องการคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าคำถามชวนคิด
แต่ในฐานะหัวหน้างาน เราจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควรถามคำถาม และเมื่อไหร่ควรให้คำแนะนำ?
แนวทางการพิจารณาที่หัวหน้างานสามารถนำไปปรับใช้ได้มีดังนี้:
.
เมื่อไหร่ที่ควรถามคำถาม?
1. เมื่อต้องการรับฟังความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ หากต้องการความคิดเห็น หรือ feedback จากทีมเพื่อการพัฒนา หรือต้องการไอเดียใหม่ ๆ การถามคำถามจะช่วยเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมได้แสดงออกถึงความคิดและมุมมองของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ นำมาซึ่งไอเดียที่หลากหลาย รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมอีกด้วย
2. เมื่อต้องการการวิเคราะห์หรือสำรวจปัญหา หากทีมกำลังเผชิญกับปัญหาหรือความท้าทาย การถามคำถามจะช่วยกระตุ้นให้สมาชิกทีมคิดวิเคราะห์และสำรวจทางออกที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน
3. เมื่อต้องการเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง กรณีที่ทีมประสบความสำเร็จ หรือเกิดความผิดพลาดระหว่างการทำงาน การถามคำถามช่วยให้ทีมได้สะท้อนถึงประสบการณ์และเรียนรู้จากความสำเร็จหรือความผิดพลาดนั้น ๆ สร้างความรู้สึกปลอดภัย และส่งเสริมการเรียนรู้อยู่เสมอ
4. เมื่อคุณต้องการให้ทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การถามคำถามในกระบวนการตัดสินใจช่วยให้สมาชิกทีมรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมและความคิดเห็นของพวกเขามีค่า และเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน
.
เมื่อไหร่ที่ควรให้คำแนะนำ?
1. เมื่อทีมต้องการทิศทางที่ชัดเจน ในสถานการณ์ที่เกินอำนาจการตัดสินใจของทีม และต้องการการชี้นำอย่างชัดเจน เช่น การเริ่มโครงการใหม่หรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การให้คำแนะนำจะช่วยให้ทีมมีทิศทางที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นใจ และรู้สึกถึงการได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานอย่างเต็มที่
2. เมื่อสมาชิกทีมยังขาดประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญ หากสมาชิกทีมยังขาดประสบการณ์หรือไม่มั่นใจในการตัดสินใจ ในขอบข่ายที่อาจเป็นเรื่องใหม่ หรือซับซ้อน การให้คำแนะนำจะช่วยเสริมความมั่นใจและสนับสนุนให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น
3. เมื่อทีมประสบปัญหาหรือทางตัน ในสถานการณ์ที่ทีมประสบปัญหาและไม่สามารถหาทางออกได้ หัวหน้างานควรให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์ ชัดเจน เฉพาะเจาะจง เช่นวิธีการที่ประสบความสำเร็จมาก่อน หรือแนวทางการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมแรงใจและเป็นแนวทางในการดำเนินการหรือพัฒนาต่อได้
.
จะเห็นได้ว่าการถามคำถาม จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกทีมได้คิด เรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ ในขณะที่การให้คำแนะนำจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมงาน รวมถึงป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบหรือสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ หัวหน้างานจึงควรรับฟังและประเมินสถานการณ์ และศักยภาพของทีมอย่างรอบคอบ เพื่อเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เพื่อสามารถบริหารจัดการงาน และสร้างการเติบโตของทีมได้อย่างสมดุล
Author
ยุ่ง ศริยา ประวงษ์
People & Culture Transformation Consultant
Action Learning Coach
Team Psychological Safety Facilitator
Artwork
ภัทรมน วงศ์สังข์
#teampsychologicalsafety
#highperformingteam
#theartofchange
#wetreasureSUSTAINABLEGROWTHthroughPEOPLE
บทความที่เกี่ยวข้อง
แม้สุขภาพจิตของพนักงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ยังมีหลายองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ปัญหาความเครียด การหมดไฟในการทำงาน และภาวะซึมเศร้า กำลังกลายเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
31 ม.ค. 2025
การดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ของพนักงานไม่ใช่เพียงแค่การดูแล "คน" แต่เป็นการลงทุนที่ช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืนในทุกด้าน เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตและกายที่ดี องค์กรจะได้ทีมงานที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
31 ม.ค. 2025
เมื่อพูดถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะหลีกเลี่ยง เพราะคิดว่าจะนำไปสู่ความไม่พอใจ แตกแยก หรือสูญเสีย แต่ในความเป็นจริง ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากเราสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเหมาะสม ความขัดแย้งอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมได้
31 ม.ค. 2025